วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ประวัติเจ้าพ่อพญาเเล

1.ประวัติเจ้าพ่อพญาแล


พระยาภักดีชุมพล เดิมชื่อ"แล" เป็นชาวนครเวียงจันทน์ เคยรับราชการเป็นพี่เลี้ยงราชบุตรในเจ้าอนุวงศ์แห่งอาณาจักรล้านช้าง (ขณะนั้นเป็นประเทศราชของไทย) ในสมัยรัชกาลที่ 2 พ.ศ. 2360 นายแลได้อพยพไพร่พลข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งบ้านเรือนที่บ้านน้ำขุ่นหนองอีจาน (อยู่ในเขตอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา) ต่อมาได้ย้ายไปตั้งใหม่ที่บ้านโนนน้ำอ้อม บ้านชีลอง (อยู่ในเขตอำเภอเมืองชัยภูมิ) และได้ทำราชการส่งส่วยต่อเจ้าอนุวงศ์ เจ้าอนุวงศ์จึงตั้งให้นายแลเป็นที่ขุนภักดีชุมพลนายกองนอก
ใน พ.ศ. 2365 ขุนภักดีชุมพลได้ย้ายชุมชนมาอยู่ที่บ้านหลวง ซึ่งอยู่ระหว่างบ้านหนองหลอดกับบ้านหนองปลาเฒ่า ในเขตอำเภอเมืองชัยภูมิปัจจุบัน เนื่องจากสถานที่เดิมเริ่มคับแคบ ไม่พอกับจำนวนพลเมืองที่เพิ่มขึ้น
พ.ศ. 2367 ได้ที่การพบบ่อทองที่บริเวณลำห้วยชาด นอกเขตบ้านหลวง ขุนภักดีชุมพลจึงได้นำทองในบ่อนี้ไปส่วยแก่เจ้าอนุวงศ์และขอยกฐานะบ้านหลวงขึ้นเป็นเมือง เจ้าอนุวงศ์จึงประทานชื่อเมืองแก่ขุนภักดีชุมพลว่า เมืองไชยภูมิ และเลื่อนบรรดาศักดิ์ให้เป็นพระภักดีชุมพล ทว่าต่อมาพระภักดีชุมพลได้ขอเอาเมืองไชยภูมิขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมา และส่งส่วยแก่กรุงเทพมหานครแทน ไม่ขึ้นแก่เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์อีกต่อไป[ต้องการอ้างอิง] พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านหลวง(เมืองไชยภูมิ)เป็นเมืองชัยภูมิ และแต่งตั้งพระภักดีชุมพล (แล) เป็นพระยาภักดีชุมพล (แล) เจ้าเมืองชัยภูมิคนแรก สร้างความไม่พอใจแก่ทางฝ่ายเวียงจันทน์อย่างมาก
ในสมัยรัชกาลที่ 3 พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์ก่อการกบฏต่อกรุงเทพเพื่อแยกตัวเป็นเอกราช โดยยกทัพเข้าตีเมืองนครราชสีมา แต่เห็นว่าจะทำการต่อไปได้ไม่ตลอด จึงเผาเมืองนครราชสีมาทิ้ง[ต้องการอ้างอิง] และถอนทัพกลับไปตั้งรับที่เวียงจันทน์ ระหว่างทางกองทัพเจ้าอนุวงศ์เกิดความปั่นป่วนจากการลุกฮือของครัวเรือนที่กวาดต้อนไปเวียงจันทน์ ขณะพักทัพอยู่ที่ทุ่งสำริด พระยาภักดีชุมพล (แล) ได้ยกทัพไปสมทบกับคุณหญิงโมและครัวเรือนชาวเมืองนครราชสีมา ทำการตีกระหนาบกองทัพของเจ้าอนุวงศ์จนแตกพ่าย เจ้าอนุวงศ์เกิดความแค้นที่พระยาภักดีชุมพลไม่ยอมให้ความร่วมมือกับฝ่ายลาว ซ้ำยังยกทัพมาช่วยฝ่ายไทยตีกระหนาบทัพลาวอีกด้วย จึงย้อนกลับมาเมืองชัยภูมิ จับตัวพระยาภักดีชุมพล (แล) ประหารชีวิต ที่บริเวณใต้ต้นมะขามริมหนองปลาเฒ่า[ต้องการอ้างอิง]
การเสียชีวิตของพระยาภักดีชุมพล (แล) ในครั้งนั้น เป็นเหตุการณ์สำคัญที่ชาวเมืองชัยภูมิจดจำตลอดมา และระลึกถึงว่าเป็นวีรกรรมครั้งสำคัญของท่าน[ต้องการอ้างอิง] ต่อมาชาวเมืองชัยภูมิจึงเรียกขานท่านด้วยความเคารพว่า "เจ้าพ่อพญาแล" และได้มีการสร้างศาลไว้ตรงสถานที่ที่พระยาภักดีชุมพล (แล) ถูกประหารชีวิต ที่บ้านหนองปลาเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225 (ชัยภูมิ - บ้านเขว้า) ต่อมาใน พ.ศ. 2511 ทางราชการได้สร้างศาลขึ้นใหม่ ให้ชื่อว่า "ศาลพระยาภักดีชุมพล (แล)" และจัดให้มีงานสักการะเจ้าพ่อพญาแลทุกปี โดยเริ่มจากวันพุธ แรกของเดือน 6 เป็นเวลา 7 วัน เรียกว่า "งานเทศกาลบุญเดือนหก ระลึกถึงความดีของ เจ้าพ่อพญาแล" ถือเป็นงานใหญ่ประจำปีของชาวชัยภูมิ และใน พ.ศ. 2518 ทางราชการร่วมกับพ่อค้าและประชาชนชาวชัยภูมิ สร้างอนุสาวรีย์ของพระยาภักดีชุมพล (แล) ประดิษฐานอยู่ตรงวงเวียนศูนย์ราชการ ปากทางเข้าสู่ตัวเมืองชัยภูมิ
ลูกหลานของพระยาภักดีชุมพล (แล) ที่ได้รับราชการเป็นเจ้าเมืองชัยภูมิคนต่อๆ มา ล้วนได้รับยศและบรรดาศักดิ์เป็นที่พระยาภักดีชุมพลทุกคน รวมทั้งสิ้น 5 คน ส่วนเจ้าพ่อพญาแลได้เป็นพระยาภักดีชุมพลได้ 4 ปี เป็นเจ้าเมืองชัยภูมิถึง 10 ปี[1]

 ยศที่ท่านได้รับ

ท่านได้รับพระราชทานยศดังนี้
  • พระพี่เลี้ยงราชบุตร ยศนี้ได้รับจากเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์
  • ขุนภักดีชุมพล ยศนี้ได้รับจากเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์
  • พระภักดีชุมพล ยศนี้ได้รับจากเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์
  • พระยาภักดีชุมพล (แล) ได้รับจากเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์
  • พระยาภักดีชุมพล (แล)เจ้าเมืองชัยภูมิคนแรก ได้รับจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

 สถานที่ระลึกถึงพระยาภักดีชุมพล (แล)

  • อนุสาวรีย์พระยาภักดีชุมพล (แล)
  • ศาลเจ้าพ่อพญาแล

ผู้สืบต่อยศพระยาภักดีชุมพล

ผู้ที่ได้รับยศพระยาภักดีชุมพลต่อจากท่านนั้นมีดังนี้
  • พระยาภักดีชุมพล ( เกตุ )
  • พระยาภักดีชุมพล ( เบี้ยว )
  • พระยาภักดีชุมพล ( ที )
  • พระยาภักดีชุมพล ( บุญจันทร์ )
  • พระยาภักดีชุมพล ( แสง )
จากสมัยของพระยาภักดีชุมพล (แสง)เสียชีวิตเป็นต้นมา ยศเจ้าเมืองก็เปลี่ยนกลายเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิในปัจจุบันนี้

 

2.โบราณสถานและแหล่งท่องเที่ยว

   โบราณสถาน

      จังหวัด ชัยภูมิ เป็นอีกจังหวัดหนึ่งทางภาคอีสานของประเทศไทยที่มีความเป็นมาที่เก่าแก่ มีอารยธรรมซ้อนทับกันหลายสมัย สามารถสืบย้อนไปได้ถึงสมัยทวารวดี สมัยขอมยังเรืองอำนาจ โดยในสมัยที่ขอมยังเรืองอำนาจนี้ เมืองชัยภูมิถือได้ว่าเป็นเมืองผ่านของขอม และได้ปรากฏหลักฐานเป็นปรางค์ศิลาหลายเเห่งกระจายอยู่ตามจุดต่างๆ เช่น พระธาตุหนองสามหมื่น พระธาตุกุดจอก ฯลฯ     
     
"ปรางค์ กู่" ตั้งอยู่ที่บ้านหนองบัว อำเภอเมืองชัยภูมิ ก็เป็นสถาปัตยกรรมอีกชิ้นหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลจากขอม คำว่าปรางค์กู่นั้น เป็นชื่อเรียกของกลุ่มอาคารที่มีแผนผังและลักษณะแบบเดียวกันกับอาคารที่ เชื่อกันว่าเป็นอโรคยาศาล หรือสถานพยาบาลที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 ในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7       
       สำหรับปรางค์กู่ที่จังหวัดชัยภูมินี้ เป็นโบราณสถานที่สมบูรณ์ที่สุดของจังหวัดชัยภูมิ มีลักษณะเป็นปรางค์ประธานอยู่ตรงกลางหนึ่งองค์ มีวิหารหรือบรรณาลัยด้านหน้าหนึ่งหลัง ล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลง และมีโคปุระ (ซุ้มประตู) อยู่เฉพาะด้านหน้า ทั้งหมดก่อด้วยศิลาแลง ยกเว้นกรอบประตูหน้าต่าง ทับหลัง เสาประดับเป็นหินทราย หันหน้าไปทางทิศตะวันออก     
       ปรางค์ประธานของปรางค์กู่องค์นี้มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 5 เมตร ย่อมุมไม้สิบสอง ด้านหน้ามีประตูเข้าออกทำเป็นมุขยื่นออกมา ผนังปรางค์อีก 3 ด้าน เป็นประตูหลอก เหนือประตูหลอกด้านทิศเหนือยังคงมีทับหลังประดับอยู่ ภาพบนทับหลังจำหลักเป็นรูปของพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิเหนือหน้ากาล ซึ่งจับท่อนพวงมาลัยไว้ด้วยมือทั้งสองข้าง ส่วนด้านข้างทางซ้ายและขวาจำหลักรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร กับรูปนางปรัชญาปารมิตา ด้านหน้าก็ยังมีทับหลังเช่นกัน สันนิษฐานว่าสลักเป็นภาพเดียวกัน แต่ปัจจุบันลบเลือนมาก     
       และภายในช่องประตูหลอกทางด้านทิศเหนือ ก็ยังมีพระพุทธรูปศิลาปางสมาธิ ศิลปะแบบทวาราวดี ขนาดสูง 1.75 เมตร ประดิษฐานอยู่ 1 องค์ ซึ่งเป็นของที่เคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น เป็นที่เคารพสักการะของชาวชัยภูมิ นอกจากนี้ยังพบทับหลังและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมอื่นๆ อีก เช่น เสาประดับประตู เป็นต้น นอกจากนั้น บริเวณนอกกำแพงตรงมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือก็มีสระน้ำอยู่ 1 สระด้วยกัน     
       แม้จะมีขนาดไม่ใหญ่โตนัก แต่ปรางค์กู่ก็ถือเป็นโบราณสถานที่ชาวชัยภูมิให้ความเคารพสักการะมาโดยตลอด โดยทุกๆ วันเพ็ญเดือน 5 ของแต่ละปี ก็จะมีการจัดงานสรงน้ำพระพุทธรูปที่ปรางค์กู่เป็นประจำ ติดต่อกัน 3 วัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของโบราณสถานแห่งนี้ รวมทั้งความเคารพที่คนชัยภูมิมีต่อปรางค์กู่ได้เป็นอย่างดี
        และนอกจากปรางค์กู่แล้ว จังหวัดชัยภูมิก็ยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลายและน่าสนใจอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นทุ่งดอกกระเจียว ที่จะบานในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม อุทยานแห่งป่าหินงาม ที่จะมีโขดหินรูปร่างแปลกๆ กระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่นับสิบไร่ รวมทั้งยังมีน้ำตกที่สวยงามอย่างน้ำตกตาดโตน และน้ำตกตาดฟ้า ในอุทยานแห่งชาติตาดโตน นับว่าจังหวัดชัยภูมินี้เป็นเมืองท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกเมืองหนึ่ง
             ปรางค์กู่ เป็นโบราณสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ตั้งอยู่ที่บ้านหนองบัว ตำบลในเมือง เขตอำเภอเมือง อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 3 กิโลเมตร จากจังหวัดชัยภูมิมาตามทางหลวงหมายเลข 202 ประมาณ 1 กิโลเมตรจะมีทางแยกเลี้ยวขวาเข้าปรางค์กู่ตามทางหลวงหมายเลข 2158 เป็นระยะท
างอีกประมาณ 2 กิโลเมตร


 

 ทุ่งดอกกระเจียว


อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม


 

        "อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม" เดิมรู้จักกันในชื่อ "ป่าเทพสถิต" ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวดั้งเดิมของจังหวัดชัยภูมิ อยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่านายางกลัก ในท้องที่ตำบลโป่งนก ตำบลนายางกลัก ตำบลบ้านไร่ ตำบลวะตะแบก อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ มีสภาพป่าสมบูรณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของลุ่มน้ำชีและแม่น้ำป่าสัก มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่งโดยเฉพาะทุ่งดอกกระเจียว มีพื้นที่ประมาณ 112 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 70,000 ไร่

         
สำหรับแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามใน "อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม" มีมากมาย ได้แก่...

ทุ่งดอกกระเจียว" กระเจียวเป็นพืชล้มลุกประเภทหัว พบเป็นพันธุ์ไม้ประจำถิ่นที่ขึ้นมากที่สุดในประเทศไทย ณ แห่งนี้ ปกติจะพบขึ้นกระจายทั่วไปตั้งแต่ลานหินงามจนถึงจุดชมวิวสุดแผ่นดิน 1 กิโลเมตร ดอกกระเจียวจะขึ้นและบานเป็นสีชมพูอมม่วงในช่วงต้นฤดูฝนเท่านั้น คือ เดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคมของทุกปี

            "ลานหินงาม" เป็นลานหินที่มีรูปร่างแปลกในพื้นที่กว่า 10 ไร่ เกิดจากการกัดเซาะเนื้อดินและหินในส่วนที่จับตัวกันอย่างเบาบางหลุดออกไป นานวันเข้าจึงเกิดโขดหินที่มีรูปลักษณ์แตกต่างกัน มองดูสวยงามเป็นที่อัศจรรย์ (รูปแปลกๆ ไปตามจินตนาการ) สำหรับลานหินงามนี้อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของพื้นที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีทางรถยนต์เข้าถึง

           "จุดชมวิวสุดแผ่นดิน" เป็นหน้าผาสูงชันและเป็นจุดที่สูงสุดของเทือกเขาพังเหย ซึ่งอยู่ในเขตของอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม (846 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง) ซึ่งเกิดจากการยกตัวของพื้นที่เป็นที่ราบสูงภาคอีสาน จึงเป็นรอยต่อระหว่างภาคกลางกับภาคอีสาน ทำให้เรียกบริเวณนี้ว่า สุดแผ่นดินณ จุดนี้จะเห็นทิวทัศน์ของสันเขาพังเหย และเขตพื้นที่ป่าของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา จุดชุมวิวนี้อยู่ทางด้านทิศเหนือของที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร

          ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวสามารถสอบถามข้อมูลการเดินทางและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม ตู้ ปณ. 2 ปทจ.เทพสถิตย์ อ.เทพสถิตย์ จ.ชัยภูมิ 36230 โทร. 08-1307-1673


         "

3.สินค้า OTOP และสินค้าพื้นเมือง






ประวัติความเป็นมา ผ้า ไหมมัดหมี่อำเภอบ้านเขว้า เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุ ควบคู่กับชุมชนชาวอำเภอบ้านเขว้ามาตั้งแต่อดีตกาลซึ่งเริ่มจากการทอผ้าใช้ใน ชีวิตประจำวันจากพ่อแม่สู่ลูก จากลูกสู่หลาน เป็นการสืบทอดภูมิปัญญามาจากบรรพบุรุษ ที่พัฒนามาจนถึงปัจจุบัน เน้นความปราณีต ละเอียดอ่อน ลวดลายบนผืนผ้าได้แนวคิดจากวิถีในการดดำรงชีวิต ที่อาศัยธรรมชาติที่อยู่รอบข้างมาเป็นแบบในการคิดลวดลาย เช่น สายน้ำไหล ต้นไม้ ซึ่งผ้าไหมมัดหมี่เป็นผ้าที่มีคุณค่า ในอดีตกาลนิยมใส่ไปในงานพิธีที่เป็นศิริมงคล ผ้าไหมจึงเป็นศิริมงคลแก่ผู้สวมใส่
กระบวนการขั้นตอนการผลิต นำเส้นไหมมาฟอก
2. มัดลวดลายตามแบบ
3. นำเส้นไหมที่มัดลวดลายมาย้อมสีและโอบสี
4. นำไปทอด้วยฟืม (ทอมือ)
จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ ลวดลายประยุกต์ มีความปราณีตทันสมัย สีสดใสสวยงาม
ปริมาณการผลิต120 เมตรต่อเดือน
ราคา เมตรละ 1,200 บาท
สถานที่จำหน่าย ]-->
- 456 หมู่ที่ 2 ต.บ้านเขว้า อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ 0-4483-9560, 0-1306-6217
- 456 หมู่ที่ 2 ต.บ้านเขว้า อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ 0-4483-9560,0-1306-6217
สนใจสั่งซื้อ หรือขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบ้านเขว้า โทร 0-4489-1106  
 
ประวัติความเป็นมาบ้าน โนนม่วง เป็นหมู่บ้านที่มีมะม่วงแก้ว มากเหมือนชื่อหมู่บ้าน บรรพบุรุษในสมัยก่อนจึงทำมะม่วงแช่อิ่มเพื่อเก็บไว้รับประทานในฤดูขาดแคลน จึงเป็นการสืบทอดภูมิปัญญามาจากสมัยบรรพบุรุษสู่รุ่นลูกหลานในปัจจุบัน และพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้มีรสชาด เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมาจนถึงปัจจุบันกระบวนการขั้นตอนการผลิตขั้นตอนการดองมะม่วง
1) นำมะม่วงแก้วที่แก่จัดมาล้างให้สะอาด ผึ่งให้แห้ง แล้วนำไปดองในถัง
2) ผสมน้ำเกลือกับน้ำหมักลงในถังให้ท่วมมะม่วง ใช้ไม้ขัดแตะ คลุมด้วยพลาสติกและปิดฝาให้แน่น และหมักมะม่วงดองไว้ ประมาณ 1 เดือน
    ขั้นตอนการแช่อิ่ม
1) นำมะม่วงที่ดองแล้วมาปอกเปลือก แล้วหั่นเป็นชั้น ๆ
2) นำน้ำตาลกับน้ำเปล่าและเกลือป่น ต้มให้ละลาย ทั้งไว้ให้เย็น
3) นำมะม่วงดองที่หั่นเป็นชิ้น ๆ นำไปแช่ไว้ประมาณ 2-3 วัน แล้วนำเข้าตู้เย็นจะทำให้รดชาดอร่อย จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ หวาน กรอบ รดชาดอร่อย ไม่มีสารพิษเจือปนปริมาณการผลิต500 ถุงต่อเดือน ราคา ถุงละ 20 บาท กิโลกรัมละ 50 บาท สถานที่จำหน่าย
- 229/2 หมู่ที่ 7 บ้านโนนม่วง ต.โพนทอง อ.เมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ 0-4482-3086, 0-6250-0419
สนใจสั่งซื้อ หรือขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองชัยภูมิ โทรศัพท์ 0-4481-2915  
4.บุคลสำคัญ

ภิกษุสงฆ์

              ประวัติอาจารย์พิทูร มลิวัลย์           อาจารย์ ดร.พิทูร มลิวัลย์ ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังนี้ เบญจมาภรณ์ช้างเผือก จัตุรถาณ์มงกุฎไทย ตริตาภรณ์ มงกุฎไทย และตริตาภรณ์ช้างเผือก
          อาจารย์ ดร.พิทูร มลิวัลย์ ได้ถึงแก่กรรมด้วยโรคมะเร็งและไตวายในวันพุทธที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ เวลา ๐๘.๓๐ นาฬิกา ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ รวมอายุ ๖๘ ปี
พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต (นครไธสง) หรือที่รู้จักกันดีทั่วไปในนาม "พระมหาสมปอง" เป็นพระนักเทศน์ชื่อดังอีกท่านหนึ่งของเมืองไทย ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2521 และบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ เมื่อ พ.ศ. 2541 ปัจจุบันพระมหาสมปองจำพรรษาอยู่ที่วัดสร้อยทอง (พระอารามหลวง) กรุงเทพมหานคร
พระมหาสมปอง เป็นพระนักเผยแผ่พระพุทธศาสนารุ่นใหม่ และนักบรรยายธรรมที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง และเป็นนักเขียนที่ผลิตผลงานและหนังสือออกมาอย่างสม่ำเสมอในยุคปัจจุบัน จนได้รับพิจารณาให้ได้รับรางวัลนักเผยแผ่พระพุทธศาสนาจากองค์กรต่าง ๆ มากมาย เช่นรางวัลพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีฯ ในงานสัปดาห์พระพุทธศาสนาวิสาขบูชาประจำปี 2551 เป็นต้น
นักแสดง
              อรวรรษา ฐานวิเศษ (ชื่อเล่น: เมษ์) หรือชื่อเดิมคือ บัณฑิตา ฐานวิเศษ เกิดเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2524 เป็นนักแสดงชาวไทย รับบทนางเอก ในละครเรื่อง ขุมทรัพย์แม่น้ำแคว และก็มีละครอื่นๆตามมาเช่น ชะชะช่าท้ารัก โลกสองใบของนายเดียว และพลิกบทบาทเล่นร้ายใน"นางทาส" และก็เล่นสลับบทไปมาระหว่างบทร้านักมวยและนางเอก
นักมวย
ปิ๊กมี่ เมืองชัยภูมิ หรือนายวิชา ภูลายขาว เกิดเมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2524 ที่ จ.ชัยภูมิ สถิติการชก 39 ครั้ง ชนะ 32 (น็อค 16) เสมอ 2 แพ้ 5

เกียรติประวัติ

  • แชมป์ ABC รุ่นไลท์ฟลายเวท
    • ชิง 21 พฤศจิกายน 2544 ชนะคะแนน เชี่ยวชาญ ธนเศวต ที่ ห้างเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน
    • พ.ศ. 2547 ถูกปลด
  • แชมป์ ABC รุ่นมินิมัมเวท
นักร้อง
การะเกด เป็นนักร้องลูกทุ่งหญิงสไตล์อีสานหน้าใหม่ ที่เพิ่งมีผลงานเพลงเพียง 2 ชุด แต่มีผลงานเป็นที่รู้จักหลายเพลง

   ประวัติ

การะเกด มีชื่อจริงว่า ธรรมพร จุ่มจัตุรัส เกิดเมื่อวันที่ 29 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 เป็นชาวจังหวัดชัยภูมิ มาจากครอบครัวที่ค่อนข้างยากจน มีพ่อเป็นภารโรงและแม่ขายอาหารในโรงเรียนที่ พ่อของเธอทำงานเป็นภารโรงครอบครัวชอบเพลงลูกทุ่งมากๆและมักพาเธอไปประกวดร้องเพลงลูกทุ่งและคอยให้กำลังใจลูกสาวพ่อของเธอเขียนเพลงลูกทุ่งไว้เยอะมากและอยากทำอัลบั้มให้ลูกสาวนำเสนอค่ายเทปอยู่เหมือนกันแต่เธอยังไม่พร้อมเพราะอยากเรียนหนังสืออย่างเดียวและไม่คิดเอาดีด้านการร้องเพลงจึงหันไปจัดรายการวิทยุเพื่อหารายได้ส่งตัวเองเรียน โดยเธอจัดรายการอยู่ที่วิทยุชุมชนจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ คลื่น FM 95.0 Mhz. โดยช่วงแรกจัดรายการแนวเพลงสตริง ส่วนช่วงที่สองจัดรายการ เพลงลูกทุ่งและเป็นพูดคุยสื่อสาร ข่าว สาระ เรื่องราวที่อยู่ในท้องถิ่น
พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต (นครไธสง) หรือที่รู้จักกันดีทั่วไปในนาม "พระมหาสมปอง" เป็นพระนักเทศน์ชื่อดังอีกท่านหนึ่งของเมืองไทย ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2521 และบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ เมื่อ พ.ศ. 2541 ปัจจุบันพระมหาสมปองจำพรรษาอยู่ที่วัดสร้อยทอง (พระอารามหลวง) กรุงเทพมหานคร
พระมหาสมปอง เป็นพระนักเผยแผ่พระพุทธศาสนารุ่นใหม่ และนักบรรยายธรรมที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง และเป็นนักเขียนที่ผลิตผลงานและหนังสือออกมาอย่างสม่ำเสมอในยุคปัจจุบัน จนได้รับพิจารณาให้ได้รับรางวัลนักเผยแผ่พระพุทธศาสนาจากองค์กรต่าง ๆ มากมาย เช่นรางวัลพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีฯ ในงานสัปดาห์พระพุทธศาสนาวิสาขบูชาประจำปี 2551 เป็นต้น
นักแสดง
              อรวรรษา ฐานวิเศษ (ชื่อเล่น: เมษ์) หรือชื่อเดิมคือ บัณฑิตา ฐานวิเศษ เกิดเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2524 เป็นนักแสดงชาวไทย รับบทนางเอก ในละครเรื่อง ขุมทรัพย์แม่น้ำแคว และก็มีละครอื่นๆตามมาเช่น ชะชะช่าท้ารัก โลกสองใบของนายเดียว และพลิกบทบาทเล่นร้ายใน"นางทาส" และก็เล่นสลับบทไปมาระหว่างบทร้านักมวยและนางเอก
นักมวย
ปิ๊กมี่ เมืองชัยภูมิ หรือนายวิชา ภูลายขาว เกิดเมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2524 ที่ จ.ชัยภูมิ สถิติการชก 39 ครั้ง ชนะ 32 (น็อค 16) เสมอ 2 แพ้ 5

เกียรติประวัติ

  • แชมป์ ABC รุ่นไลท์ฟลายเวท
    • ชิง 21 พฤศจิกายน 2544 ชนะคะแนน เชี่ยวชาญ ธนเศวต ที่ ห้างเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน
    • พ.ศ. 2547 ถูกปลด
  • แชมป์ ABC รุ่นมินิมัมเวท
นักร้อง
การะเกด เป็นนักร้องลูกทุ่งหญิงสไตล์อีสานหน้าใหม่ ที่เพิ่งมีผลงานเพลงเพียง 2 ชุด แต่มีผลงานเป็นที่รู้จักหลายเพลง

   ประวัติ

การะเกด มีชื่อจริงว่า ธรรมพร จุ่มจัตุรัส เกิดเมื่อวันที่ 29 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 เป็นชาวจังหวัดชัยภูมิ มาจากครอบครัวที่ค่อนข้างยากจน มีพ่อเป็นภารโรงและแม่ขายอาหารในโรงเรียนที่ พ่อของเธอทำงานเป็นภารโรงครอบครัวชอบเพลงลูกทุ่งมากๆและมักพาเธอไปประกวดร้องเพลงลูกทุ่งและคอยให้กำลังใจลูกสาวพ่อของเธอเขียนเพลงลูกทุ่งไว้เยอะมากและอยากทำอัลบั้มให้ลูกสาวนำเสนอค่ายเทปอยู่เหมือนกันแต่เธอยังไม่พร้อมเพราะอยากเรียนหนังสืออย่างเดียวและไม่คิดเอาดีด้านการร้องเพลงจึงหันไปจัดรายการวิทยุเพื่อหารายได้ส่งตัวเองเรียน โดยเธอจัดรายการอยู่ที่วิทยุชุมชนจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ คลื่น FM 95.0 Mhz. โดยช่วงแรกจัดรายการแนวเพลงสตริง ส่วนช่วงที่สองจัดรายการ เพลงลูกทุ่งและเป็นพูดคุยสื่อสาร ข่าว สาระ เรื่องราวที่อยู่ในท้องถิ่น



5.วัฒธนธรรมประจำจังหวัด

ศิลปะ-วัตนธรรม-ประเพณี

งานฉลองอนุสาวรีย์เจ้าพ่อพระยาแล

งานแห่เทียนเข้าพรรษา
งานบุญบั้งไฟ
หรือบุญเดือนหก จัดประมาณเดือนพฤษภาคม
งานบุญข้าวจี่
หรืองานบุญเดือนสี่ จัดประมาณเดือนมีนาคม มีการเทศน์มหาชาติ
งานประเพณีบวงสรวงเจ้าพ่อพระยาแล
เป็นการรำบวงสรวงเป็นกลุ่มๆ ที่ภูพระ ซึ่งมีพระเจ้าองค์ตื้อ เป็นพระพุทธรูปแกะสลักหินทราย ที่ชาวบ้านเชื่อว่า มีความศักดิ์สิทธิ์มาก จะมีขึ้นในระหว่างวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 5 คือเดือนเมษายน และในวันเข้าพรรษา วันออกพรรษา
เป็นการฉลองเมื่อเสร็จสิ้นการทำนา จัดประมาณเดือนกุมภาพันธ์
งานบุญพระเวส
จัดที่บริเวณศาลหนองปลาเฒ่า ระหว่างวันที่ 12-20 พฤษภาคม ของทุกปี ชาวบ้านจะไปเคารพสักการะดวงวิญญาณของเจ้าพ่อ และรำถวายเจ้าพ่อที่ศาลหลังเก่า
ประเพณีรำผีฟ้า งานบุญเดือนสี่ เป็นงานประเพณีของชาวอำเภอคอนสาร ในวันขึ้น 1-3 ค่ำ เดือน 5 ราวกลางเดือนมีนาคม ในงานนี้ชาวบ้านจะนิยมเล่นสะบ้า แข่งขันกันเพื่อชิงรางวัล และความสนุกสนานในบริเวณวัดเจดีย์ อำเภอคอนสาร
เป็นงานที่เทศบาลเมืองชัยภูมิจัดขึ้นทุกปี ประมาณเดือนกรกฎาคม มีการประกวดเทียนพรรษาที่ประดิษฐ์อย่างสวยงาม มีงานประเพณีอื่นๆ ที่จัดเป็นประจำทุกปี
ที่บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัด และสี่แยกอนุสาวรีย์เจ้าพ่อพระยาแล ช่วงเดือนมกราคมของทุกปี มีขบวนแห่สักการะอนุสาวรีย์เจ้าพ่อ ขบวนถวายช้างแด่เจ้าพ่อ และขบวนแห่ของอำเภอต่างๆ มีการประกวดผลิตผลทางการเกษตร